บทที่ 4 – ระดับของการจัดกลุ่มสัญญาประกันภัย (Level of Aggregation)
บทที่ 4 นี้ จะเน้นเรื่องการจัดกลุ่มจัดประเภทของแบบประกันภัย โดยประเด็นสำคัญคือ การจัด Portfolio ของ TFRS17 นั้น จะจัดโดยเงื่อนไข 2 อย่าง คือ จะต้องจัดการด้วยกัน (Manage Together) และ มีลักษณะความเสี่ยงที่คล้ายกัน (Similar Risk Nature) เช่น ระยะสั้น และยาว ควรแยกออกจากกัน เป็นต้น
บ่อยครั้งที่เราจะเห็นว่าในการจัดกลุ่มของแบบประกันภัยในการรายงานแบบอื่น เช่น ใน RBC ของบางประเทศนั้น บางทีก็จัดกลุ่มโดยอ้างอิงถึง การจัดการด้วยกัน (Manage Together) แต่เพียงอย่างเดียว และไม่ได้นำเรื่อง ลักษณะความเสี่ยงที่คล้ายกัน (Similar Risk Nature) มาพิจารณาด้วย และนั่นก็จะทำให้ TFRS17 แตกต่างกับ RBC ได้
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ในการจัดกลุ่มจัดประเภทของแบบประกันภัยระหว่าง RBC กับ TFRS17 นั้น ควรจะสอดคล้องกัน หรืออย่างน้อย TFRS17 ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่และใช้ข้อมูลค่อนข้างเยอะ ควรจะมีความสอดคล้องกับการจัดกลุ่มจัดประเภทตาม RBC ไปเลย ซึ่งจะมีประโยชน์ในเรื่องของการจัดการฐานข้อมูลและไม่เป็นภาระต้นทุนกับภาคธุรกิจจนเกินไป
จุดสังเกตของธุรกิจประกันวินาศภัยคือ Marine, Fire, Engineering นั้นเป็นได้ทั้งสัญญาระยะสั้นและระยะยาวได้ เพียงแต่ใน RBC ตอนนี้ จะจัดให้ Marine, Fire, Engineering เข้าไปอยู่ในสัญญาระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ทำให้การคำนวณไม่ยุ่งยาก และ TFRS17 อาจจะยึดหลักในการจัดกลุ่มจัดประเภทตามแบบ RBC ในปัจจุบันเพื่อความไม่ยุ่งยากก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเช่น ในตอนนี้ Portfolio ของธุรกิจประกันวินาศภัย ก็จะมีการจัดกลุ่มถึง 15 Class ตามแบบของ RBC และ TFRS17 ก็น่าจะสามารถจัดกลุ่มเป็น 15 Portfolio ตาม 15 Class แบบนี้ได้
ที่สำคัญ คือ แต่ละบริษัทจะต้องอธิบายให้ได้ว่า แต่ละ Portfolio ที่จัดกลุ่มมานั้น เราจัดการมันด้วยกัน (Manage Together) และมีลักษณะความเสี่ยงที่คล้ายกัน (Similar Risk Nature) จริงหรือไม่
ในส่วนของรายงานงบการเงิน สำหรับ Portfolio นั้น เราจะเรียกว่า Unit of Account of Presentation ซึ่งสุดท้ายก็เหมือนกับการทำ Mini Financial Statement ที่มีงบกำไรขาดทุน (P&L) กับ งบดุล (Balance sheet) ของแต่ละ Portfolio ออกมา เพียงแต่เราจะไม่เรียกมันว่า Financial Statement เท่านั้นเอง ซึ่งความยุ่งยากในเรื่องนี้ก็คือ บางบริษัทขนาดเล็กนั้น อาจจะไม่เคยทำพวกนี้มาก่อน เพราะถ้าจะทำก็ต้องมี Income vs Expense และมี Bottom line ที่เป็นกำไรของแต่ละ Portfolio
อีกส่วนหนึ่งที่ลงรายละเอียดลงมาจาก Portfolio นั้น เราจะเรียกว่า Cohort และ Profitability ซึ่งสามารถวิเคราะห์ดูได้พร้อมกัน โดยเราจะเรียกมันว่า Unit of Account of Measurement
ความยุ่งยากคือ เมื่อก่อนนั้นเราสามารถดูว่าบริษัทจะกำไรอย่างไรตาม Portfolio หรือ อาจจะดูทั้งบริษัทรวมกันก็ได้ แต่สำหรับ TFRS17 แล้ว จะต้องมีการ Test แบบประกันแต่ละตัวก่อนที่จะขายว่า แบบที่จะขายนั้นจะมีกำไรหรือไม่ และถ้าไม่กำไรนั้น จะเรียกมันว่าอะไร (ใน TFRS17 จะเรียกว่า Onerous ซึ่งจะกล่าวในบทหลัง ๆ) นั่นก็แปลว่า TFRS17 บังคับให้ต้องทำ pricing อย่างละเอียดและทำ Profitability Test ก่อนทุกตัว และในจุดนี้จะเป็นประเด็นใหญ่ที่บริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทยจะต้องหันมาทำ Pricing และ Profitability Test กันอย่างจริงจังมากขึ้นใน Product Level (ไม่สามารถทำแค่ตั้งราคาตาม tariff แล้วก็เอาไปขายเลย)
ทั้งนี้ ในการจัดกลุ่ม Cohort นั้น ใน TFRS17 ให้ทางเลือกในการพิจารณาใช้ Underwriting Year หรือ Policy Year ก็ได้ ซึ่งแน่นอนว่า ธุรกิจประกันวินาศภัยนั้นปกติจะเลือกใช้ Underwriting Year เพราะต้องเก็บข้อมูลเป็น Transaction เวลาจัดกลุ่ม Cohort (ในทางกลับกัน ธุรกิจประกันชีวิตจะเลือกใช้ Policy Year ในการจัดกลุ่ม Cohort)
เขียนโดย อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ)
FSA, FIA, FRM, FSAT, MBA, MScFE (Hons), B.Eng (Hons)
ขอสงวนสิทธิ์ของเนื้อหาในบทความ ไม่ให้นำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากทางบริษัท ABS เท่านั้น
บทความที่เกี่ยวข้อง
แนวปฏิบัติและการตีความ TFRS17 สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยไทย ตอนที่ 1
แนวปฏิบัติและการตีความ TFRS17 สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยไทย ตอนที่ 2
แนวปฏิบัติและการตีความ TFRS17 สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยไทย ตอนที่ 3
แนวปฏิบัติและการตีความ TFRS17 สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยไทย ตอนที่ 4
แนวปฏิบัติและการตีความ TFRS17 สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัยไทย ตอนที่ 5
Comentarios